สัมภาษณ์พิเศษ
บริษัท อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย จำกัด (มหาชน) หรือ RBF ผู้นำรายใหญ่ด้านผลิตภัณฑ์วัตถุแต่งกลิ่นและสีผสมอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงผลิตภัณฑ์กลุ่มแป้งชุบทอด เกล็ดขนมปัง ซอสและนํ้าจิ้มที่จำหน่ายให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหาร มีความพร้อมจะเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ภายในปีนี้
“เราเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯเพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าบริษัทมีมาตรฐานที่ดี มีความโปร่งใส การเป็นบริษัทมหาชนจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯทำให้มีภาพลักษณ์ที่ดีในการขยายตลาดสู่ต่างประเทศ สามารถติดต่อกับคู่ค้าต่างประเทศได้คล่องตัว”
นายสุรนาถ กิตติรัตนเดช ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชีและการเงิน บริษัท อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ในปีนี้บริษัทมุ่งเน้นขยายตลาดในต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยจะเปิดโรงงานผลิตแป้งเกล็ดขนมปังในเวียดนาม และอินโดนีเซีย ซึ่งมียอดขายเติบโตดีจากการทดลองตลาดมาก่อนหน้านี้ ส่วนในประเทศจีน RBFได้จัดตั้งบริษัททำการตลาดและขายผลิตภัณฑ์แล้ว
สุรนาถ กิตติรัตนเดช
ปัจจุบันบริษัทมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 1,480 ล้านบาท ในปี 2560 บริษัทมีรายได้ 2,800 ล้านบาท กำไร 290 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนรายได้จากการขายในประเทศ 85% และส่งออก 15% ลูกค้าส่งออกหลักๆ คือ ญี่ปุ่น เวียดนาม อินโดนีเซีย
บริษัทมีผลิตภัณฑ์ 6 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มวัตถุแต่งกลิ่นและสีผสมอาหาร, กลุ่มแป้งและซอส, กลุ่มผลิตภัณฑ์อบแห้ง, กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็ง, กลุ่มบรรจุภัณฑ์พลาสติก และกลุ่มผลิตภัณฑ์ซื้อมาเพื่อจำหน่าย
สัดส่วนรายได้หลัก 65% มาจาก 2 กลุ่มแรก คือ กลุ่มวัตถุแต่งกลิ่นและสีผสมอาหาร(35%) และกลุ่มแป้งและซอส(30%) โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ซื้อมาเพื่อจำหน่ายมีสัดส่วนรายได้ 20% และกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารอบแห้ง 5%
“ธุรกิจของบริษัทจะเติบโตไปตามธุรกิจอาหาร แต่ก็ไม่เหมือนกันเสีย ทีเดียว เพราะผลิตภัณฑ์ของ RBF ใช้สำหรับแต่งกลิ่น แต่งสี ปรุงรสอาหาร มีผลิต ภัณฑ์แป้งชุบทอด แป้งเกล็ดขนมปัง รวมถึงผลิต ภัณฑ์ที่ใช้ในเครื่องดื่ม รวมถึงยังมีอาหารอบแห้ง อาหารแช่แข็ง และผลิตภัณฑ์พลาสติกบรรจุอาหาร มีการกระจายความเสี่ยงค่อนข้างหลากหลาย”
พ.ต.พญ.จัณจิดา รัตนภูมิภิญโญ กรรมการบริษัท กล่าวว่า จุดเด่นของ RBF คือ มีทีมวิจัยและพัฒนาที่มีประสบการณ์มีความเชี่ยวชาญ สามารถแข่งขันได้กับบริษัทคู่แข่งในต่างประเทศ
พ.ต.พญ.จัณจิดา รัตนภูมิภิญโญ
“หัวใจสำคัญในธุรกิจของเราคือ R&D (Research and Development) และการนำเทคโนโลยีมาใช้ เรามีทีมวิจัยและพัฒนา 50-60 คน ทั้งชาวต่างชาติและไทยที่มีประสบการณ์สูง นักวิจัยชาวไทยถือว่าเก่งมากเมื่อเทียบกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกัน การคิดค้นสูตร การปรุงรส แต่งกลิ่นแต่งสี ถือเป็นงานศิลปะที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อน และผสมผสานกับการใช้เทคโนโลยี เพื่อให้ได้อาหารที่มีคุณสมบัติตามต้องการ สามารถคงสภาพได้นาน เก็บได้นานขึ้น เป็นต้น”
พ.ต.พญ.จัณจิดา กล่าวว่า การเติบโตของบริษัทนอกจากการที่ลูกค้าของบริษัทมียอดขายเพิ่มขึ้นจากการทำการตลาด และการขยายตลาดไปในต่างประเทศแล้วยังมีโอกาสในการเติบโตจากการออกสินค้าใหม่ๆ สร้างรสชาติใหม่ๆ หรือการออกผลิต ภัณฑ์ไปตามกระแสการรักษาสุขภาพ ซึ่งประเทศไทยถือเป็นผู้นำเทรนด์ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาหารไทยได้รับการยอมรับอย่างดี
“บริษัทมีความภูมิใจที่เราเป็นบริษัทของคนไทย 100% ที่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งในต่างประเทศได้ เราเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในการโปรโมตอาหารไทยไปทั่วโลก ช่วยสร้างชื่อเสียงให้ประเทศ และมีการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อการเติบโตอย่างมั่นคงต่อไปในอนาคต”
หน้า 17-18 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 39 ฉบับ 3,441 วันที่ 3-6 กุมภาพันธ์ 2562
Infornation from
http://www.thansettakij.com/content/383219
สัมภาษณ์พิเศษ
บริษัท อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย จำกัด (มหาชน) หรือ RBF ผู้นำรายใหญ่ด้านผลิตภัณฑ์วัตถุแต่งกลิ่นและสีผสมอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงผลิตภัณฑ์กลุ่มแป้งชุบทอด เกล็ดขนมปัง ซอสและนํ้าจิ้มที่จำหน่ายให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหาร มีความพร้อมจะเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ภายในปีนี้
“เราเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯเพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าบริษัทมีมาตรฐานที่ดี มีความโปร่งใส การเป็นบริษัทมหาชนจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯทำให้มีภาพลักษณ์ที่ดีในการขยายตลาดสู่ต่างประเทศ สามารถติดต่อกับคู่ค้าต่างประเทศได้คล่องตัว”
นายสุรนาถ กิตติรัตนเดช ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชีและการเงิน บริษัท อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ในปีนี้บริษัทมุ่งเน้นขยายตลาดในต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยจะเปิดโรงงานผลิตแป้งเกล็ดขนมปังในเวียดนาม และอินโดนีเซีย ซึ่งมียอดขายเติบโตดีจากการทดลองตลาดมาก่อนหน้านี้ ส่วนในประเทศจีน RBFได้จัดตั้งบริษัททำการตลาดและขายผลิตภัณฑ์แล้ว
สุรนาถ กิตติรัตนเดช
ปัจจุบันบริษัทมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 1,480 ล้านบาท ในปี 2560 บริษัทมีรายได้ 2,800 ล้านบาท กำไร 290 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนรายได้จากการขายในประเทศ 85% และส่งออก 15% ลูกค้าส่งออกหลักๆ คือ ญี่ปุ่น เวียดนาม อินโดนีเซีย
บริษัทมีผลิตภัณฑ์ 6 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มวัตถุแต่งกลิ่นและสีผสมอาหาร, กลุ่มแป้งและซอส, กลุ่มผลิตภัณฑ์อบแห้ง, กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็ง, กลุ่มบรรจุภัณฑ์พลาสติก และกลุ่มผลิตภัณฑ์ซื้อมาเพื่อจำหน่าย
สัดส่วนรายได้หลัก 65% มาจาก 2 กลุ่มแรก คือ กลุ่มวัตถุแต่งกลิ่นและสีผสมอาหาร(35%) และกลุ่มแป้งและซอส(30%) โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ซื้อมาเพื่อจำหน่ายมีสัดส่วนรายได้ 20% และกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารอบแห้ง 5%
“ธุรกิจของบริษัทจะเติบโตไปตามธุรกิจอาหาร แต่ก็ไม่เหมือนกันเสีย ทีเดียว เพราะผลิตภัณฑ์ของ RBF ใช้สำหรับแต่งกลิ่น แต่งสี ปรุงรสอาหาร มีผลิต ภัณฑ์แป้งชุบทอด แป้งเกล็ดขนมปัง รวมถึงผลิต ภัณฑ์ที่ใช้ในเครื่องดื่ม รวมถึงยังมีอาหารอบแห้ง อาหารแช่แข็ง และผลิตภัณฑ์พลาสติกบรรจุอาหาร มีการกระจายความเสี่ยงค่อนข้างหลากหลาย”
พ.ต.พญ.จัณจิดา รัตนภูมิภิญโญ กรรมการบริษัท กล่าวว่า จุดเด่นของ RBF คือ มีทีมวิจัยและพัฒนาที่มีประสบการณ์มีความเชี่ยวชาญ สามารถแข่งขันได้กับบริษัทคู่แข่งในต่างประเทศ
พ.ต.พญ.จัณจิดา รัตนภูมิภิญโญ
“หัวใจสำคัญในธุรกิจของเราคือ R&D (Research and Development) และการนำเทคโนโลยีมาใช้ เรามีทีมวิจัยและพัฒนา 50-60 คน ทั้งชาวต่างชาติและไทยที่มีประสบการณ์สูง นักวิจัยชาวไทยถือว่าเก่งมากเมื่อเทียบกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกัน การคิดค้นสูตร การปรุงรส แต่งกลิ่นแต่งสี ถือเป็นงานศิลปะที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อน และผสมผสานกับการใช้เทคโนโลยี เพื่อให้ได้อาหารที่มีคุณสมบัติตามต้องการ สามารถคงสภาพได้นาน เก็บได้นานขึ้น เป็นต้น”
พ.ต.พญ.จัณจิดา กล่าวว่า การเติบโตของบริษัทนอกจากการที่ลูกค้าของบริษัทมียอดขายเพิ่มขึ้นจากการทำการตลาด และการขยายตลาดไปในต่างประเทศแล้วยังมีโอกาสในการเติบโตจากการออกสินค้าใหม่ๆ สร้างรสชาติใหม่ๆ หรือการออกผลิต ภัณฑ์ไปตามกระแสการรักษาสุขภาพ ซึ่งประเทศไทยถือเป็นผู้นำเทรนด์ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาหารไทยได้รับการยอมรับอย่างดี
“บริษัทมีความภูมิใจที่เราเป็นบริษัทของคนไทย 100% ที่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งในต่างประเทศได้ เราเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในการโปรโมตอาหารไทยไปทั่วโลก ช่วยสร้างชื่อเสียงให้ประเทศ และมีการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อการเติบโตอย่างมั่นคงต่อไปในอนาคต”
หน้า 17-18 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 39 ฉบับ 3,441 วันที่ 3-6 กุมภาพันธ์ 2562
ข้อมูลจาก
http://www.thansettakij.com/content/383219